top of page

บทที่ 1เครือข่ายการสื่อสาร-ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครือข่าย

บทที่ 1 เครือข่ายการสื่อสาร

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครือข่าย

  • เครือข่ายโทรศัพท์

  • ส่วนประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล

  • ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  • หน่วยงานกำหนดมาตรฐาน

  • แบบจำลอง OSI สำหรับเครือข่าย

  • ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  • สรุปท้ายบท

  • แบบทดสอบประเมินผลความรู้

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)

เครือข่าย หรือที่มักเรียกติดปากว่า เน็ตเวิร์ก (network) ก็คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันในเครือข่ายได้ ตัวอย่างของเครือข่ายที่เราคุ้นเคย ได้แก่ เครือข่ายของโทรศัพท์ เครือข่ายดาวเทียม เครือข่ายวิทยุ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน เรียกว่า ช่องสัญญาณ (communication channel)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครือข่ายโทรศัพท์

เครือข่ายโทรศัพท์จัดเป็นเครือข่ายเก่าแก่ที่ได้มีการพัฒนามายาวนาน ผู้ประดิษฐ์คิดค้นคือ อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบล เมื่อปี ค.ศ.1876 เริ่มแรกเครือข่ายโทรศัพท์ถูกนำมาใช้งานด้วยวิธีการง่ายๆ จากการแปลงเสียงพูดมาเป็นสัญญาณแอนะล็อกส่งผ่านไปยังสาย จากนั้นก็จะแปลงสัญญาณแอนะล็อกนี้กลับมาเป็นรูปแบบของเสียงเมื่อถึงปลายทาง ปัจจุบันเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์ได้มีการพัฒนาจนกระทั่งระบบมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น รวมถึงประสิทธิภาพก็สูงขึ้นด้วย มีเทคโนโลยีโทรศัพท์อยู่หลายเทคโนโลยีด้วยกันที่ยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีเก่าแก่ที่เรียกว่า POTS (Plain Old Telephone System) ที่ใช้เซอร์กิตแอนะล็อดเพียงชิ้นเดียว ซึ่งประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวที่เชื่อมโยงจากที่พักอาศัยหรือหน่วยงานธุรกิจต่างๆ ละเชื่อมโยงไปยังโครงข่ายระบบโทรศัพท์สาธารณะที่เรียกว่า PSTN (Public Switched Telephonr Network) แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์ได้มีการพัฒนาด้วยการนำระบบดิจิตอลมาใช้งานมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายแบบไร้สายผ่านสัญญาณคลื่นวิทยุ รวมถึงการบริการโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า ระบบ VolP (Voice Over Internet Protocol) ซึ่งเทคโนโลยี VolP เป็นระบบที่ใช้สัญญาณข้อมูลเสียงมาบรรจุลงในรูปแบบของแพ็กเก็ต (Packet) และส่งไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่าเร้าเตอร์ (Router) การสื่อสารด้วย VolP นี้ ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนในด้านของการสื่อสารระหว่างประเทศได้จำนวนมาก จึงพบว่ามีหลายหน่วยงานในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

ปกติแล้วการใช้โทรศัพท์เพื่อการสื่อสารระหว่างกันอย่างระบบ PSTN นั้น จัดเป็นระบบเครือข่ายที่สร้างขึ้นมาเพื่อการสื่อสารโทรศัพท์โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงมีค่าใช้จ่ายด้านการบริการค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการสื่อสารระยะไกล เช่น การโทรศัพท์เชื่อมโยงข้ามจังหวัดหรือข้ามประเทศ เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมเครือข่าย PSTN นั้นจะเป็นระบบแอนะล็อก แต่ในส่วนของเครือข่ายหลักๆ มักพัฒนาเป็นระบบดิจิตอล แต่ในที่สุดระบบเครือข่ายระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์กับผู้ใช้งานตามบ้านส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นแบบแอนะล็อกเช่นเดิม

ครั้นเทคโนโลยี VolP ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ผู้ใช้จึงสามารถสื่อสารด้วยระบบ VolP ด้วยการรับส่งข้อมูลชนิดเสียงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้โทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีค่าบริการที่สูงกว่า ดังนั้นหากนำ VolP มาใช้งานในองค์กร ก็ย่อมส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้ามประเทศลดลงได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของVolP ก็มีเช่นกัน คือความสามารถในการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ เนื่องจากแพ็กเก็ตข้อมูลที่ส่งจากต้นทางไปยังปลายทางนั้น จะต้องผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีจำนวณเครือข่ายอยู่มากมายมหาศาล จึงทำให้การสื่อสารระหว่างกันอาจล่าช้าหรือดีเลย์ได้ กล่าวคือ ตามปกติที่ใช้งานโทรศัพท์พูดคุยกัน ฝั่งผู้พูดได้พูดอะไรออกมา ฝั่งผู้รับก็จะได้รับฟังทันทีทันใด แต่หากเป็นระบบ VolP อาจไม่เป็นเช่นนั้นในทุกโอกาส อันเนื่องมาจากปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเอง

ส่วนประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1.ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน

2.ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

3.ช่องสัญญาณ (Channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

4.การเข้ารหัส (Encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้

5.การถอดรหัส (Decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน

6.สัญญาณรบกวน (Noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้วงจรกรอง (Filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายที่ทำงานรวมกันเป็นกลุ่มงาน เรียกว่า Workgroup เมื่อเชื่อมโยงหลาย ๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันจะเป็นเครือข่ายขององค์กร จะเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางโดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและสื่อสารถึงกันได้ เช่น

1. การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน เครือข่ายที่ให้บริการเก็บข่าวสาร ตัวเลขหรือข้อมูลใช้งานจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้ เช่น ราคาสินค้า บัญชีสินค้า ฯลฯ

2. การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้ร่วมกันได้ เช่น การพิมพ์เอกสารจะใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายหลายเครื่องก็ได้ เป็นต้น

3. การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานเข้าด้วยกันก็จะสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้ การดำเนินการต่าง ๆ ควรเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ฝ่ายบริหารเครือข่ายขององค์กรได้กำหนดไว้

4. สำนักงานอัตโนมัติ แนวคิดคือต้องการลดการใช้กระดาษ หันมาใช้ระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันที โดยการใช้สัญญาณอิเลคทรอนิกส์แทน จะทำให้การทำงานคล่องตัวและรวดเร็ว

การใช้งานเครือข่ายยังมีการประยุกต์ได้หลายอย่างตั้งแต่ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การทำงานเป็นกลุ่ม การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การนัดหมายการส่งงาน แม้แต่ในห้องเรียนก็ใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เรียกค้นข้อมูลเป็นต้น

หน่วยงานกำหนดมาตรฐาน

หน่วยงานกำหนดมาตรฐาน เป็นหน่วยงานที่กิ่ตั้งขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครือข่ายที่มาจากบริษัทผู้ผลิตต่างๆมาใช้งานร่วมกันได้ โดยปกติแล้วผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์เครือข่ายทั่วไปสามารถผลิตขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตมากมาย และหากผู้ผลิตได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานแล้ว เมื่อผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ต่างยี่ห้อแล้วก็สามารถำมาใช้งานร่วมกันได้ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านั้นได้ผลิตตามมาตรฐานสากลนั่นเอง อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำหนดมาตรฐานความจริงมีอยู่มากมาย แต่สำหรับในที่นี้ขอกล่าวถึงหน่วยงานสำคัญๆ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงาน ISO, ANSI และ IEEE - องค์กรกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ (Internationai Standards Organization : ISO) ISO เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่ประกอบไปด้วยมาตรฐานครอบคลุมอยู่หลายส่วนด้วยกัน แต่สำหรับมาตรฐานด้านเครือข่ายแล้ว หน่วยงาน ISO ได้มีการสร้างข้อกำหนดมาตรฐานระบบเปิดขึ้นมาที่เรียกว่า OSI (Open Systems interconnection) หรือเรียกแบบจำลอง OSI ที่ใช้เป็นมาตรฐานระบบเปิดสำหรับการสื่อสารบนเครือข่าย - สถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) หน่วยงาน ANSI (อ่านว่า “แอน-ซี”) ประกอบไปด้วยกลุ่มสมาชิกที่มาจากหลายกลุ่มด้วยกัน ทั้งภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐบาล สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย และกลุมผู้บริโภคทั่วไป หน่วยงาน ANSI เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นโดยไม่มุ่งแสวงผลกำไร ตัวอย่างมาตรฐานของ ANSI ที่กำหนดขึ้นมา เช่น มาตรฐาน ANSI-COBOL, ANSI-C และข้อกำหนดมาตรฐานการสื่อสารเครือข่ายแบบ FDDI บนเครือข่ายท้อแงถิ่นเป็นต้น - สถาบันอิเล็กทรอนิกส์และวิศวกรรมไฟฟ้า (Institute of Electical and Electronics Engineers : IEEE) หน่วยงาน IEEE (อ่านว่า “ไอ-ทริปเปิล-อี”) เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้ส้างข้อกำหนดมาตรฐานบนระบบเครือข่ายหลายมาตรฐานด้วยกัน IEEE เป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมากมาย โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิศวกรรม หน้าที่หลักของหน่วยงานนี้ คือ การกำหนดทฤษฎี การสร้างข้อกำหนดของตัวผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาใช้กับซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์มาตรฐานบนชั้นสื่อสารทางกายภาพและชั้นสื่อสารการเชื่อมต่อข้อมูล โดยต่อไปนี้เป็นโครงการย่อยต่างๆของมาตรฐานเครือข่าย IEEE หมายเลข 802 -IEEE 802.1 (Higher Layer LAN Protocols) มาตรฐานด้านโปรโตคอลบนเครือข่ายท้องถิ่น

- IEEE 802.2 (Logical Link Control) มาตรฐานฟังก์ชั่นและโปรโตคอล LLC บนเครือข่ายท้องถิ่น - IEEE 802.3 (CSMA/CD หรือ Ethernet) มาตรฐานเครือข่ายอีเทอร์เน็ต - IEEE 802.3u (Fast Ethernet) มาตรฐานเครือข่ายอีเทอร์เน็ตความเร็วสูง - IEEE 802.3as (Gigabit Ethernet) มาตรฐานเครือข่ายกิกะบิตอีเทอร์เน็ต - IEEE 802.4 (Token Bus) มาตรฐานเครือข่ายโทเค็นบัส - IEEE 802.5 (Token Ring) มาตรฐานเครือข่ายโทเค็นริง - IEEE 802.6 (Metropolitan Area Network : MAN) มาตรฐานเครือข่ายระดับเมือง - IEEE 802.7 (Broadband LAN) มาตรฐานบรดแบนด์บนเครือข่ายท้องถิ่น - IEEE 802.8 (Fiber Optic) มาตรฐานเครือข่ายใยแก้วนำแสง - IEEE 802.9 (Integrated Services) มาตรฐานการรวมบริการข้อมูลและเสียงร่วมกัน - IEEE 802.10 (LAN/MAN Security) มาตรฐานระบบความปลอดภัยบนเครือข่ายท้องถิ่น และเครือข่ายระดับเมือง - IEEE 802.11 (Wireless LAN) มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย - IEEE 802.11a ความเร็ว 54 เมกะบิ้ตต่อวินาที ที่คลื่นความถี่ 5 กิกะเฮิตซ์ สำหรับในประเทศไทยถูกระงับใช้ เนื่องจากได้จัดสรรคลื่นความถี่นี้เพื่อใช้งานมาก่อนหน้านั้นแล้ว - IEEE 802.11b (WI-FI) เครือข่ายแลนไร้สายที่ได้รับความนิยมสูง มีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยคลื่นความถี่ช่วง 2.4 กิกะเฮิรตซ์ - IEEE 802.11g เครือข่ายแลนไร้สายที่ได้พัฒนาจาก IEEE 802.11b มีความเร็วที่ 54 เมกะบิตต่อวินาที บนคลื่นความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์

แบบจำลอง OSI สำหรับเครือข่าย

กระบวนการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการสื่อสาร ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวจะครอบคลุมเรื่องการรับส่งข้อมูล การเข้ารหัส การตรวจจับข้อมูลผิดพลาด ดังนั้นหน่วยงานกำหนดมาตรฐาน หรือที่เรียกสั้นๆว่า ISO ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบามสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานสากล โดย ISO ได้มีการกำหนดระบบเปิดที่เรียกว่าแบบจำลง OSI (Open Systems Interconnection) เพื่อใช้สำหรับเป็นแบบจำลองเพื่อการอ้างอิงบนเครือข่ายตามมาตรฐานสากล จุดประสงค์ของแบบจำลอง OSI ก็เพื่ออนุญาตให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าพีซีคอมพิวเตอร์กับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์นั้นใช้สถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน โดยต่างก็ใช้ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่แตกต่างกัน ทำให้ทั้งสองระบบไม่สามารถสื่อสารกันได้ เนื่องจากเป็นคนละระบบหรือมีแพลตฟอร์ม (Platform) ที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตา นั่นไม่ใช้ปัญหาด้านการสื่อสารข้อมูลที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ต่างระบบจขะไม่สามารถสื่อสารกันได้ กล่าวคือแบบจำลอง OSI นี้เจะอนุญาตให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันในสถาปัตยกรรรมสมารถสื่อสารร่วมกันได้โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ และที่สำคัญ แบบจำลอง OSI จัดเป็นแบบจำลองที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเข้าใจในสถาปัตยกรรมเครือข่ายลำมาประยุกต์ใช้ในระบบการสื่อสารระดับสากลภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก แบบจำลอง OSI มีการแบ่งการทำงานอกเป็นลำดัลบชั้น ที่เรียกว่าชั้นสื่อสาร (layer) แต่ละชั้นสื่อสารจะมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบแตกต่างกัน การสื่อสารจะต้องเรียงกันตามลำดับชั้นสื่อสาร โดยชั้นสื่อสารที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะให้บริการแก่ชั้นสื่อสารที่อยู่ลำดับสูงกว่า ไม่สารถสื่อสารข้ามลำดับชั้นได้ แบบจำลอง OSI ประกอบไปด้วยชั้นสื่อสาร 7 ชั้นด้วยกัน ซึ่งแสดงไว้ในรูปที่ 1.6 โดยแนวคิดของการแบ่งเป็นชั้นสื่อสารมีเหตุผลสำคัญดังนี้ 1.การแบ่งออกเป็นชั้นสื่อสาร ก็เพื่อลดความซับซ้อน ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

2.เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารจำแนกบทบามหน้าที่ที่ชัดเจนและแตกต่างกัน 3.เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น 4.เพื่อให้การทำงานในแต่ละชั้นสื่อสารสอดคล้องกับมาตรฐานสากล 5.เพื่อป้องกันกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนบนชั้นสื่อสารหนึ่งๆ ม่ให้เกิดผลกระทบต่อชั้นสื่อสารในลำดับอื่นๆ

6.จำนวนชั้นสื่อสารต้องมีจำนวนเหมาะสมเพียงพอต่อการจำแนกหน้าที่ มิใช่มีชั้นสื่อสารมากเกินความจำเป็นหรือน้อยเกินไป

แบบจำลอง OSI มีกรอบการทำงานเป็นลำดับชั้น หรือรียกว่า “ เลเยอร์ ” แต่ลำดับชั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน รวมถึงฟังก์ชันหน้าที่ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละชั้น สำหรับลำดับชั้นต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมานั้น จะถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารร่วมกัน โดยแบบจำอง OSI ได้มีการแบ่งออกเป็น 7 ลำดับชั้นด้วยกันคือ คือ

  • ลำดับชั้นฟิสิคัส

  • ลำดับชั้นดาต้าลิงก์

  • ลำดับชั้นเน็ตเวิร์ก

  • ลำดับชั้นทรานสปอร์ต

  • ลำดับชั้นเซสซัน

  • ลำดับชั้นพรีเนเตชัน

  • ลำดับชั้นแอปพลิเคชัน

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้

1. PAN (Personal Area Network) คือ “ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล” หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal

2. LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

3. MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง

เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล

4. WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย

Recent Posts
bottom of page