top of page
สถาบันที่เกี่ยวข้อง

บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ

        เป็นการควบรวมของสอง บริษัท สำคัญของกระทรวงการคลัง คือ บริษัท ทีโอที กับ บริษัท กสท. เป็นบริษัท มหาชน

1-26-2021 10-00-46 AM.jpg

กระทรวงการคลังมีมติเห็นชอบให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

                ควบรวมเป็นบริษัทเดียวกัน ตามที่คณะกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เสนอเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานและการลงทุนระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และสนับสนุนให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน โดยเฉพาะจากการรวมโครงข่ายโทรคมนาคมเข้าด้วยกัน โดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ได้มีมติอนุมัติในหลักการ ให้   

 

                บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ควบรวมกิจการ ตามข้อเสนอของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ด้วยแล้ว ทั้งนี้ ขอให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการ ควบรวมตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยให้ถือความเห็นของกระทรวงการคลังดังกล่าว เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามนัยมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (National Telecom Public Company Limited :NT)

                โดยมีกำหนดวันจดทะเบียนในวันที่ 7 มกราคม 2564 ซึ่งภายหลังการควบรวมสำเร็จ จะส่งผลให้ NT มีโครงสร้างพื้นฐานครบวงจรมากที่สุด "NT จะกลายเป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 

                

บริษัท    แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส AIS

      แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (อังกฤษ: Advanced Info Service) หรือเรียกโดยย่อว่า เอไอเอส เป็นบริษัทมหาชนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทย เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศตามจำนวนผู้ใช้งาน[2] มีสถานะเป็นบริษัทในเครือของอินทัช โฮลดิ้งส์ โดยเอไอเอสถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงเป็นอันดับสองในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รองจากปตท.

ระบบอินเทอร์เน็ต

  • เน็ตบ้านความเร็วสูง มีชื่อการค้าว่า "เอไอเอส ไฟเบอร์ (AIS Fibre)"

  • เน็ตบ้านผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานแบบ Narrow band (Dial-Up Modem) 56 kbps มีชื่อการค้าว่า "ซีเอส อินเทอร์เน็ต (CS Internet)" (ยกเลิกบริการแล้ว)

  • เน็ตบ้านและสำหรับองค์กรผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานแบบ ISDN 256 kbps -1,024 kbps มีชื่อการค้าว่า "ซีเอส ล็อกอินโฟร์ (CS Loxinfo)" (ยกเลิกบริการแล้ว)

ดาวน์โหลด (1).jfif

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด

             บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Total Access Communication Public Company Limited; ชื่อย่อ: TAC) หรือในชื่อการค้าว่า ดีแทค (dtac) เป็นผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย เดิมเป็นบริษัทในเครือยูคอม ปัจจุบันถือหุ้นใหญ่โดย บีซีทีเอ็น โฮลดิง

             โดยในช่วงแรกให้บริการในช่วงความถี่ 1800MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ภายใต้ระยะเวลา 27 ปี ตามสัญญาสัมปทาน พร้อมทั้งให้บริการ 3 จี ในช่วงความถี่ 850MHz ซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีบริการ 3 จี ในช่วงความถี่ 2100MHz ซึ่ง กสทช.ออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ให้บริษัท ดีแทคไตรเน็ต จำกัด

563000004445801.jfif

บริษัท ทรู (ทรู คอร์ปอเรชั่น)

       ทรู คอร์ปอเรชั่น (อังกฤษ: True Corporation) (ชื่อเดิม: เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น; Telecom Asia Corporation ชื่อย่อ: ทีเอ; TA)

       แต่เดิมเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ISP) ด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจากบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์(CP) หลังจากที่เริ่มมีการขยายตัว และการแข่งขันในด้านการสื่อสารกันมากขึ้น

        จึงทำการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์จากเดิมมาเป็น กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมกับเปลี่ยนชื่อบริษัทในเครือ เช่น จาก ทีเอ ออเร้นจ์ (TA ORANGE) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ร่วมทุนระหว่างซีพี และออเร้นจ์ฝรั่งเศส) หลังจากฝรั่งเศสถอนหุ้นกลับไปจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ทรู มูฟ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันดับ 3 ของประเทศ และได้ขยายกิจการด้านการโทรคมนาคมอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านโทรศัพท์พื้นฐาน (โทรศัพท์บ้าน)

         ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่เป็นอันดับ 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โทรศัพท์บ้านพกพา (วีพีซีที), ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ทรู อินเทอร์เน็ต), เคเบิลทีวีระบบบอกรับเป็นสมาชิกรายเดือน ทรูวิชั่นส์ และรวมไปถึงบันเทิง ทั้งด้าน โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามลำดับ ซึ่งประกอบไปด้วย ทรูวิชั่นส์ ทรูมูฟ ทรูมันนี่ เอ็นซี ทรู ทรู ดิจิตอล คอนเทนท์ แอนด์ มีเดีย (Future Gamer ทรูไลฟ์ Good Game จีสแควร์ ทรูไอพีทีวี)

     

true-logo.jpg

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

กสทช.

NBTC.png

กสทช

          คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (อังกฤษ: National Broadcasting and Telecommunication Commission) หรือ กสทช. (NBTC) เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารความถี่วิทยุเพื่อกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม

          กสทช. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553[

ดาวน์โหลด (2).jfif

ITU  สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

International Telecommunication Union

               สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Telecommunication Union - ชื่อย่อ: ITU) เป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นองค์การสากลที่เก่าแก่มากที่สุดอันดับสอง ที่ยังคงดำเนินการอยู่ โดยในระยะแรกเริ่ม ใช้ชื่อว่า สหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Telegraph Union) จัดตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1865 (พ.ศ. 2408) ปัจจุบัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ใกล้กับสำนักงานสหประชาชาติ

                สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐาน และกฎระเบียบ สำหรับการสื่อสารวิทยุ และโทรคมนาคมระหว่างประเทศ การกำหนดแถบคลื่นความถี่วิทยุ (อังกฤษ: Allocation of the Radio Spectrum) และบริหารจัดการ กรณีที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศ เช่น บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ อันเป็นภารกิจในเชิงโทรคมนาคม ในลักษณะเดียวกับการปฏิบัติงานของสหภาพสากลไปรษณีย์ ในกรณีของงานบริการไปรษณีย์  

สำนักงานใหญ่เจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์

ก่อตั้ง: 17 พฤษภาคม 2408

ผู้นำHoulin Zhao

องค์กรหลักคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ

จัดตั้ง: 17 พฤษภาคม 1865; 155 ปีก่อน

บริษัทในเครือภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคมITU Radiocommunication SectorITU-D

IEEE

        IEEE คือสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (ieee.org) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลมาตรฐาน งานวิจัย และการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับงานวิศวรกรรมไฟฟ้าต่าง ๆ ระบบโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ ระบบวัดคุม ตลอดจน บริการติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายหรือ Wireless

15281220190220508989-1belief.jpg

มาตรฐาน IEEE 802.11

                มาตรฐานเกี่ยวกับเครือข่ายไร้สายแรกที่ได้มีการจัดทำออกมา อันสืบเนื่องมาจากความต้องการใช้งานระบบแลนไร้สาย (Wireless LAN) ที่มีเซลล์ขนาดเล็กและมีความเฉพาะกิจมากขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของร้านค้าปลีก คลังเก็บสินค้า โรงพยาบาล สถานศึกษา และภาคธุรกิจและการบริการต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น จึงนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานแลนไร้สายลักษณะเดียวกันกับ Ethernet ชื่อว่า IEEE 802.1.1 ซึ่งมาตรฐานหลักดังกล่าวได้นำมาซึ่งมาตรฐานย่อยต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย โดยเรียงลำดับตั้งแต่ a,b,c ไปจนถึง n ซึ่งแต่ละมาตรฐานจะมีความเร็วและคลื่นความถี่สัญญาณแตกต่างกันไปในแต่ละประเภท

มาตรฐาน IEEE 802.11a

            มาตรฐานดังกล่าวจะใช้สำหรับ Wireless Lan ที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลประมาณ 54 Mbps ทำงานในย่านความถี่ 5 GHz สามารถปรับอัตราความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้ตามแต่ที่ต้องการ ที่สำคัญสามารถใช้ในการรับ-ส่งรูปภาพ วิดีโอ และข้อมูลที่มีความคมชัดสูงได้ นอกจากนั้น คลื่นความถี่ชนิดนี้ยังมักจะสามารถทำงานได้โดยไม่มีคลื่นความถี่อื่นรบกวนมากนัก ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากในหลายประเทศ คลื่นความถี่ 5 GHz ยังไม่ได้ถูกเปิดให้ใช้ทั่วไปในสาธารณชน จึงไม่มีปัญหารบกวนคลื่นความถี่มากเท่าใดนัก

มาตรฐาน IEEE 802.11b

             คลื่นความถี่ตามมาตรฐานดังกล่าวทำงานที่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่ได้รับการเปิดให้ใช้ในพื้นที่สาธารณะ สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วประมาณ 11 Mbps เป็นคลื่นความถี่ที่ได้รับความนิยมและมีการใช้งานเป็นจำนวนมากในประเทศไทย นอกจากนั้น อุปกรณ์ที่สามารถทำงานกับคลื่นความถี่นี้ได้จะต้องผ่านการรับรองจากสถาบัน Wireless Alliance เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันที่ยอมรับได้ โดยมาตรฐานดังกล่าวมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลแบบ WEP ที่ 128 บิต สามารถนำไปใช้งานได้ทุกประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาต

แหล่งข้อมูล

notnow.asia

ISO (International Organization For Standardization)

       

International Standards Organization หรื่อที่เราเรียกกันคุ้นหูว่า ISO

            คือชื่อขององค์การ มาตรฐานสากล หรือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน

            มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ก่อตั้งเป็น ทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1947 (พ.ศ. 2490) ปัจจุบันมีสมาชิก 143 ประเทศ ซึ่งครั้งแรกนั้นมีผู้แทนจาก ประเทศต่าง ๆ 25 ประเทศร่วมประชุมกันที่ กรุงลอนดอนมีมติตั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานขึ้น และสหประชาชาติได้ให้ การยอมรับเป็นองค์การชำนาญพิเศษประเภทที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐบาล โดย

           

            มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนา อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ และขจัดข้อโต้แย้ง รวมถึงการกีดกัน ทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ในด้านวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือการจัดระเบียบการค้าโลก

ISOคืออะไร.png
bottom of page