top of page
ส่วนประกอบของการสื่อสาร
kisspng-communication-clip-art-informati

ความหมายของการสื่อสารข้อมูลในมุมมองของอย่างง่ายก็คือ 

                 เป็นกระบวนการถ่ายโอนข้อมมูล สารสนเทสจากแหล่งกำเนิดข่าวสารผ่านสื่อกลาง เพื่อส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการแต่ทั้งนี้การสื่อสารข้อมูลจะสัมฤทธิผลและมีความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อครบส่วนประกอบของระบบสื่อสารโดยส่วนประกอบของระบบการสิ่อสารประกอบด้วย

ข่าวสาร  (Message )
               ข่าวสารในที่นี้คือ ข้อมูลหรือสาสนเทศต่างๆ ที่อาจเป็นข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง และวีดีโอข่าวสารที่ส่งไปให้จะต้องได้รับการเข้ารหัส เพื่อส่งผ่านสื่อกลาง ครั้นเมื่อปลายทางได้รับข้อมูลก็จะทำการถอดรหัสให้กลับมาเป็นข้อมูลตั้งเติมเช่นเดียวกับที่จะส่งมา อย่างไรก็ตามระหว่างที่ลำเลียงช่าวสารผ่านสื่อกลางอาจมีสัญญารบกวนปะปนมากับข่าวสารได้

ผู้ส่ง (Sender Source)
               ผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิดข่าวสารคือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เวิร์กเตชั่น โทรศัพท์ กล้องวีดีโอ เป็นต้น

สื่อกลางส่งข้อมูล( Transmission Medium)                 

               สื่อกลางส่งข้อมูลในที่นี้คือ เส้นทางเชิงกายภาพที่ใช้สำหรับการลำเลียงข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับตัวอย่างสื่อกลางส่งข้อมูล เช่น สายโคแอกเชียล สายคู่บิดเกรียว สายไฟเบอร์ออฟติก และคลื่นวิทยุ เป็นต้น

ผู้รับ(Receiver Destination )
               ผู้รับหรือจุดหมายปลายทางคือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เวิร์กสเตชั่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ เป็นต้น

โปรคอล ( Protocol)
                 โปรคอลคือ กลุ่มของกฎเกณฑ์และข้อปฎิบัติต่างๆ ที่กำหนดขึ้นมา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้การสื่อสารข้อมูลบรรลุ ถึงแม้อุปกรณ์ทั้งสองฝั่งจะสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ก็ตามหากปราศจากโปรคอลก็จะไม่สามารถสื่อสารสารกันได้อย่างเข้าใจ ส่งผลให้การสื่อสารล้มเหลวในที่สุดตัวอย่างเช่นคนหนึ่งพูดภาษาฝรั่งเศส ส่วนอีกคนพูดภาษาญี่ปุ่น ทำให้สื่อสารพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง

q.png

การเข้ารหัสข้อมูล

จุดประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการของการเข้ารหัสข้อมูลประกอบด้วย 


    1. การทำให้ข้อมูลเป็นความลับ (Confidentiality) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 
    2. การทำให้ข้อมูลสามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ได้ (Integrity) เพื่อป้องกันข้อมูลให้อยู่ในสภาพเดิมอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ ในกระบวนการสื่อสารนั้นผู้รับ (Receiver) ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามที่ผู้ส่ง (Sender) ส่งมาให้โดยข้อมูลจะต้องไม่มีการสูญหายหรือถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ 
    3. การทำให้สามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้ส่งข้อมูลได้ (Authentication/Nonrepudiation) เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่าใครคือผู้ส่งข้อมูล หรือในทางตรงกันข้าม ก็คือเพื่อป้องกันการแอบอ้างได้

ดาวน์โหลด.png
1_-1N8OJBEtB5fEk8IpGxG5A.png

ทำไมต้องเข้ารหัส

 

      การเข้ารหัสข้อมูลจะใช้เพื่อป้องกันอาชญากรไซเบอรืหรือผู้ประสงค์ร้ายไม่ให้เข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นมันจึงสามารถนำไปใช้กับการปกป้องข้อมุลทุกประเภทตั้งแต่หน่วยงานราชการไปจนถึงการทำธุรกรรมบัตรเครดิต 

 

การเข้ารหัสดีอย่างไร

       การเข้ารหัสเป็นการรักษาความลับของข้อมูลระดับหนี่ง โดยมีข้อตกลง ฝ่ายส่ง และ ฝ่ายรับ ต้องมีรหัสข้อมูลที่ตรงกันซึ่งเราเรียกว่า การเข้ารหัสและการถอดรหัส

     

bottom of page