top of page
ยุคของโทรคมนาคม

โทรเลข (Telegraphy)
        หลักการทำงานของระบบโทรเลข  จะใช้วิธีการแปลอักษรตัวเลขให้เป็นรหัส  จากนั้นก็แปลเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งผ่านสื่อกลาง  เช่น  สายทองแดง  และเมื่อปลายทางไดรับก็จะทำการถอดรหัสเป็นข้อความอย่างไรก็ตาม  การบริหารโทรเลขในประเทศไทยได้มีการประกาศยกเลิกใช้งานเมื่อวันที่  1  พฤษภาคม  2551  เป็นต้นมา  และถือเป็นการปิดตำนานการใชโทรเลขที่เปิดใช้เป็นเวลากว่า  100  ปี

โทรพิมพ์  (Telex)
        เป็นรูปแบบของการใช้บริการโทรเลขชนิดหนึ่ง  แต่ผู้ใช้งานสามารถติดต่อโต้ตอบกันได้โดยเครื่องโทรพิมพ์จะมีลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด  ที่เป็นได้ทั้งเครื่องรับและส่งข้อมูลในตัวเดียวกัน   สามารถสื่อสารได้โดยอาศัย  ตัวนำหรือช่องสัญญาณ  และชุมสายที่มีการเชื่อมต่อกันกับเครื่องโทรพิมพ์ต่าง ๆ  เข้าด้วยกัน  ผู้ใช้ทั้งสองฝั่งสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยการพิมพ์ข้อความลงบนกระดาษเพื่อโต้ตอบระหว่างกันโดยถึงแม้ว่าฝังรับจะไม่มีพนักงานคอยรับข้อความ  เครื่องก็สามรถพิมพ์และหยุดได้เองโดยอัตโนมัติ

โทรสาร  (Facsimile)
        เครื่องโทรสารหรือมักเรียกกันว่า  เครื่องแฟกซ์  (Fax)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคนิคของแสงสแกนลงบนเอกสารที่เป็นได้ทั้งข้อความและภาพ  จากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งผ่านตามสายโทรศัพท์  เมื่อโทรสารฝั่งรับได้รับข้อมูล  ก็จะแปลสัญญาณไฟฟ้านั้นกลับมาเป็นข้อมูลตามต้นฉบับ

โทรศัพท์ (Telephone)
        โทรศัพท์จัดเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้งานมากที่สุด ปัจจุบันมีใช้งานตามบ้านเรือนแทบทุกครัวเรือนชุมสายโทรศัพท์ได้มีการพัฒนา และเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของระบบดิจิตอลในบางพื้นที่มากขึ้นตามลำดับเพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง โดยการใช้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เพื่อการสื่อสารนั้นมีราคาถูกเป็นที่นิยมและสามารถเชื่อมต่อได้ระยะไกล ตัวอย่างเช่น การใช้อินเทอร์เน็ตตามบ้านด้วยการใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับโมเด็มซึ่งเป็นระบบแอนะล็อก หรือการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยระบบ ADSL ซึ่งเป็นระบบดิจิตอล อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของระบบโทรศัพท์แบบมีสาย ทำให้เกิดการใช้งานที่ไม่คล่องตัว จึงมีการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบไร้สายขึ้น โดยเฉพาะระบบดังกล่าวจะมีการแบ่งเขตการรับสัญญาณวิทยุตามพื้นที่ส่วนต่างๆที่เรียกว่าเซลล์ แต่ละเซลจะมีเสาอากาศตามประเภทของคลืนชนิดนั้นๆไว้คอยรับส่งสัญญาณหลายสัญญาณพร้อมๆๆกันทำให้สามารถใช้โทรศัพท์ติดต่อกันได้ไม่ว่าผู้ใช้งานเคลื่อนที่จะอยู่บริเวณไดก็ตาม

โทรทัศน์ ( Television )
        เป็นระบบที่ใช้ในการแพร่ภาพกระจายในย่านความถี่สูง เช่นที่ย่านความถี่สูง VHF  หรือย่านความถือสูงมากUHF ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ใช้สำหรับกิจการทางโทรทัศน์ในอดีตหารแพร่ภาพทางโทรทัศน์มักประสบปัญหาของพื้นที่รับสัญญาณ เช่น ตามจังหวัดห่างไกลแต่ปัจจุบันได้มีการติดตั้งสถานีทวนสัญญาณโทรทัศน์ตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศเพื่อให้ประชาชนตามจังหวัดที่ห่างไกลสามารถรับชมการแพร่ภาพโทรทัศน์ได้ปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทยมีอยู่2ระบบด้วยกันคือ ระบบออกอาก่าศทั่วไป  ที่ใช้บริการฟรี และอีกระบบหนึ่งคือ ระบบเคเบิลทีวี สมาชิกจะได้รับเสารับสัญณาญเฉพาะที่แตกต่างจากเสารับสัญญาณโทรทัศน์ทั่วไปนอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Video on Demand ซึ่งเป็นระบบโทรทัศน์ที่ผู้ชมสามารถเป็นผุ้เลือกชมรายการได้ด้วยตนเอง

วิทยุกระจายเสียง( Radio)
         เป็นการสื่อสารที่อาศัยคลื่นวิทยุด้วยการส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยใช้เทคนิคการมอดูเลตคลื่นสัญญาณเพื่อให้สัญญาณสามารถส่งได้ระยะไกล การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สาย อีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ในระยะไกลตามประเภทของคลื่นนั้นๆ

ไมโครเวฟ (Microwave)
         ไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุชนิดหนึ่งที่มีความถี่สูงระดับกิกะเฮริตร์ และเนื่องจากความยาวของคลื่นมีหน่อยวัดเป็นไมโครเมตรจำนำมาตั้งชื่อเรียกว่าไมโครเวฟปัจจุบันได้มีการนำคลื่นไมโครเวฟมาใช้งานในกิจการโทรคมนาคมอย่างกว้างขวาง และด้วยคลื่นไมโครเวฟเป็นคลื่นในระดับสายตา ดังนั้นตึกสูงหรือภูเขาจึงสามารถบดบังสัญญาณได้ ทางแก้ไขก็คือการติดตั้งเสารับส่งไมโครเวฟ เพื่อรับสัญญาณจากสถานีหนึ่ง และส่งทอดไปยังอีกสถานีหนึ่ง

ดามเทียม (Satellite)
         โลกมนุษย์มีลักษณะกลมและคลื่นไมโครเวฟเป็นคลื่นในระดับสายตา   ดังนั้นการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟภาคพื้นดินบนระยะทางไกล ๆ   ยอมเกิดปัญหา   จึงจำเป็นต้องมาการติดตั้งสถานีฐานเพิ่มเติมเพื่อรับส่งสัญญาณเป็นทอด ๆ   ดังนั้นด้วยข้อจำกัดของภูมิประเทศที่ส่งผลต่อการส่งคลื่นไมโครเวฟ  ดังนั้นจึงได้พัฒนาดาวเทียมขึ้นมา  ซึ่งความจริงดาวเทียมก็คือสถานีไมโครเวฟนั่นเอง   แต่เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอยอยู่บนเหนือพื้นผิวโลก  มีลักษณะเป็นจานขณะใหญ่โคจรห่างจากพื้นโลกประมาณ 22,300  ไมล์  ทำให้สามารถติดต่อกับสถานีไมโครเวฟภาคพื้นดินที่อยู่เป็นพื้นที่ได้
               นอกจากนี้เราสามารถส่งดาวเทียมค้างฟ้า  (Geostationary   Satellite)   ซึ่งเป็นดาวเทียมที่หมุนโคจรด้วยความเร็วเท่ากับโลก   จึงทำให้แลดูเหมือนกับว่าไม่มีการเคลื่อนไหว   เมื่อนำดาวเทียมดังกล่าวขึ้นไปโคจรเหนือพื้นผิวโลกเพียง   3 ดวง   ก็สามารถควบคลุมการสื่อสารได้ทุกมุมโลก   โดยดาวเทียมดวงหนึ่งส่งสัญญาณในบริเวณว่างเท่ากับ   1 ใน 3   ของโลก  (120  องศา)  ดังนั้นดาวเทียม  3   ดวงก็สามารถครอบคลุมบริเวณพื้นโลกได้ทั้งหมด (360   องศา)  ส่วนการสื่อสารด้วยเคลื่อนไมโครเวฟสามารถสัญญาณแบบขาขึ้น  (Uplink) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจากสถานีฐานไปยังดาวเทียม   และการส่งสัญญาณแบบขาลง   (Downlink)
ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจากดาวเทียมมายังสถานีฐาน  และด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมในอนาคตก็จะสามารถสื่อสารได้ทั้งสองทิศทางไม่ว่าจะเป็นแบบขาขึ้นหรือขาลง

20131011082040telegraph-470.jpg
CIMG0435sml.jpg
facsimile-fax-machine-500x500.jpg
32b80f69-f07a-402d-99ab-3e90a6125604.jpg
ดาวน์โหลด.jfif
ae3003b4d76749dcbb74fd79b8694089.jfif
television-history-importance-advantages
d5871237-7696-4845-bdfb-8017b18c71bb.jpg
411dc2929bc7f81590297d2b7c67ae32.jpg
p25_hand-held_radios.jpg
two_way_satellite_communication.jpg
China_Digital_Microwave_Link201182210195
75337-telecommunication-communication-ve

โทรคมนาคมยุคปัจจุบัน

         

     โทรคมนาคมปัจจุบันดูเหมือนจะถูก อินเทอร์เน็ต ควบรวมไปแล้ว เพราะทุกอย่างที่อยู่ห่างไกลถูกผนวกเข้าด้วยกันแล้ว แต่ระบบอินเทอร์เน็ตก็ยังต้องเดินไปกับระบบโทรคมนาคม เช่น ไปทาง สาย   ไปทางดาวเทียม ไปทางเส้นใยแก้วนำแสง หรือ ทางอื่นๆตามลักษณะทางเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาต่อไป

 

      โทรคมนาคมผ่านระบบสื่อทาง อาร์เอฟ  เช่น ผ่านทาง วิทยุ หรือ ทางดาวเทียม

      โทรคมนาคมผ่านทางระบบสาย เช่นทางโทรศัพท์  หรือ ทางเส้นใยแก้วนำแสง

satellite-technology-radio-antenna.jpg
unnamed.png
bottom of page