top of page

หน่วยที่ 4 วงจรกรองความถี่แบบ RC, RL, LC, RLC




4.1 วงจรกรองความถี่แบบ R – C

4.2 วงจรกรองความถี่แบบ R – L

4.3 วงจรกรองความถี่แบบ L – C

4.4 วงจรกรองความถี่แบบ R – L – C

4.5 คริสตอลฟิลเตอร์

วงจรกรองความถี่ (Filter Circuit)

วงจรกรองความถี่ คือวงจรที่เลือกความถี่ให้ผ่านไปได้ โดยใช้คุณสมบัติของ RLC ที่มีการตอบสนองต่อความถี่ต่างกัน วงจรกรองความถี่นิยมใช้งานวงจรของวิทยุ ที่ใช้การตัดความถี่คลื่นพาออกไป หรือใช้ในวงจรดีมอดูเลชั่นของโทรทัศน์ หากในวงจรเครื่องเสียง ก็จะใช้เลือกความถี่ให้เหมาะสมกับลำโพงที่จะใช้งาน หรือปรับแต่งความถี่ที่ผ่านได้ เพื่อให้ระบบเสียงโดยรวมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

1. ตัวต้านทาน (R : Resistor)

คุณสมบัติของ R คือต้านทานกระแสไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อมาอยู่ในไฟฟ้ากระสลับ ก็มีคุณสมบัติแบบเดียวกัน โดย

2. ตัวเหนี่ยวนำ (L : Inductor)

คุณสมบัติของ L คือจะยอมให้ความถี่ต่ำผ่านเท่านั้น ยิ่งความถี่สูงมากเท่าใด ความต้านทานภายในตัวของมันก็ยิ่งสูงขึ้น สูตรการคำนวนคือ

3. ตัวเก็บประจุ (C : Capacitor)

คุณสมบัติโดยปกติของตัวเก็บประจุ จะยอมให้ความถี่สูงผ่าน สูตรการหาความต้านทานของ C เมื่ออยู่ในไฟฟ้ากระแสสลับ คือ

การแบ่งประเภทของวงจรกรองความถี่

แบ่งตามการตัดความถี่ได้ดังนี้

1. วงจรกรองความถี่ต่ำผ่าน (Low Pass Filter) จะตัดความถี่ที่สูงกว่าความถี่ที่กำหนดทิ้งไป (ความถี่ที่กำหนด จะถูกเรียกว่าความถี่ตัดผ่าน)

2. วงจรกรองความถี่สูงผ่าน (High Pass Filter) จะยอมให้ความถี่ที่สูงกว่าที่กำหนดทิ้งไป และจะตัดความถี่ที่กำหนดทิ้งไป

3. วงจรกรองแถบความถี่ผ่าน (Band Pass Filter) จะตัดความถี่ให้ผ่านไปได้ช่วงหนึ่งเริ่มจากที่กำหนด และสิ้นสุดที่กำหนด

4. วงจรหยุดแถบความถี่ผ่าน (Band Stop Filter) จะยอมให้ความถี่ที่นอกเหนือจากความถี่ที่กำหนดไว้ผ่านไปได้

1. วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านรูปตัวที (T Type Low Pass Filter)

ในรูปของวงจร T จะใช้งาน L 2 ตัว และใช้ C อีก 1 ตัว ช่วยให้การตัดความถี่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยหากให้การตัดความถี่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ต้องใช้วงจรนี้มาต่อกับหลายๆชุด

2. วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านรูปตัวพาย (Pi Type Low Pass Filter)

วงจรนี้จะใช้ C 2 ตัว และใช้ L 1 ตัวในการกรองความถี่สูงทิ้งไป นิยมใช้งานในวงจรภาคจ่ายไฟแบบสวิทชิ่ง

2. วงจรกรองความถี่สูงผ่าน (High Pass Filter)

จะใช้งาน C เข้ามากรองความถี่ และเพื่อให้การตัดความถี่มีความสมบูรณ์ขึ้น จึงใช้งานวงจรรูปที และตัวพายแบบเดียวกับวงจรกรองความถี่ต่ำ เพียงแต่สลับตำแหน่งของอุปกรณ์กัน

1. วงจรกรองความถี่สูงผ่านรูปตัวที (T Type High Pass Filter)

2. วงจรกรองความถี่สูงผ่าน (High Pass Filter)

จะใช้งาน C เข้ามากรองความถี่ และเพื่อให้การตัดความถี่มีความสมบูรณ์ขึ้น จึงใช้งานวงจรรูปที และตัวพายแบบเดียวกับวงจรกรองความถี่ต่ำ เพียงแต่สลับตำแหน่งของอุปกรณ์กัน

1. วงจรกรองความถี่สูงผ่านรูปตัวที (T Type High Pass Filter)

3. วงจรกรองแถบความถี่ผ่าน (Band Pass Filter)

วงจรนี้จะใช้งาน L และ C มาต่อขนานหรือ อนุกรมกัน โดยหลักการคือให้ L กรองความถี่สูงสุดที่จะให้ผ่านก่อน ความถี่ที่สูงกว่าจะถูกตัดทิ้งไป จากนั้นจึงใช้ C มากรองความที่ถี่ต่ำที่สุดที่จะให้ผ่าน ความถี่ที่ต่ำกว่าที่กำหนดก็จะถูกตัดทิ้งไป

หากนำ C และ L มาต่อขนานกันลงกราว์ด ตามคุณสมบัติของ L คือจะยอมให้ความถี่ต่ำผ่าน ดังนั้นจึงใช้ L ในการตัดความถี่ที่ต่ำกว่าที่กำหนดลงกราว์ด และตามคุณสมบัติของ C ที่ยอมให้ความถี่สูงผ่าน ทำให้ตัดความถี่ที่สูงกว่าที่กำหนดลงกราว์ด จากนั้นจึงมีช่วงความถี่ที่ไม่ถูกกำหนดไว้ไม่ถูกตัดลงกราว์ด ทำให้สามารถผ่านออกไปได้

4. วงจรหยุดแถบความถี่ผ่าน (Band Stop Filter)

วงจรจะคล้ายๆกับวงจรกรองความถี่ผ่าน แต่จะใช้การตัดความถี่ของ L C ในจุดที่ต่างกัน จากวงจรจะเห็นว่าเราจะให้ความถี่ผ่านเข้ามาที่ L และ C พร้อมๆกัน โดยหากความถี่ที่เข้ามาต่ำกว่าความถี่ตัดของ L จะทำให้ความถี่สามารถผ่าน L ไปได้ แต่หากสูงกว่าจะไม่สามารถผ่านไปได้ ต่อมาก็มาดูที่ C ตามคุณสมบัติคือยอมให้ความถี่สูงผ่านไปได้ ดังนั้นหากความถี่ที่เข้ามาสูงกว่าความถี่ตัดของ L ถึงจะผ่าน L ไปไม่ได้ แต่หากสูงกว่าความถี่ตัดของ C ก็จะทำให้ความถี่นั้นผ่าน C ไปได้โดยง่าย

วงจรด้านล่างนี้จะใช้หลักการดึงความถี่ที่อยู่ในแถบความถี่ที่ไม่ต้องการให้ผ่าน ดึงลงกราว์ดเพื่อไม่ให้ความถี่ผ่านไปได้ โดยเมื่อความถี่เข้ามาผ่าน L แล้วความถี่นั้นต่ำกว่าจุดตัดของ L จะทำให้ความถี่สามารถผ่านไปหา C ได้ และหากความถี่ที่ผ่าน L มานั้น สูงกว่าจุดตัดของ C จะทำให้ความถี่นั้นผ่านลงกราว์ดไป ทำให้ไม่สามารถผ่านไปได้

ข้อดี ข้อเสียของวงจรกรองความถี่แบบพาสซีพ

ข้อดี

ใช้อุปกรณ์น้อย

คุณภาพการตัดความถี่ดี

ข้อเสีย

ตัว L สามารถสร้างได้ยาก

ไม่มีการขยาย ทำให้มีความสูญเสียที่สูง

2. แบบแอคทีฟ (Active)

เป็นวงจรที่จำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก เพื่อให้วงจรสามารถทำงานได้สมบูรณ์ ใช้คุณสมบัติของ RLC เช่นเดิม แต่เพิ่มวงจรขยายขึ้นมา โดยส่วนใหญ่นิยมใช้งาน ออปแอมป์ (Op-Amp) มาใช้เป็นวงจรขยาย

1. วงจรกรองความถี่ต่ำผ่าน (Low Pass Filter)

วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านลำดับที่ 1

จากวงจร สูตรในการคำนวนหาความถี่ตัดคือ

และหากต้องการกำหนดค่าความถี่ตัดผ่านเอง ต้องสมมุติค่า C ขึ้นมา 1 ค่า สูตรการคำนวนคือ

เมื่อ

F คือ ความถี่ตัดผ่าน มีหน่วยเป็น เฮิร์ต Hz

คือ ค่าคงที่ มีค่า 22/7 หรือ 3.142

R คือ ค่าความต้านทาน ของตัวต้านทาน มีหน่วยเป็น โอห์ม

C คือ ค่าความจุของตัวเก็บประจุ มีหน่วยเป็นฟารัด (F)

CRYSTAL FILTER

วงจรภาคขยาย IF ต้องการ วงจรกรองที่มีคุณภาพ และมี band ที่แคบ (Narrow bandwidth) เพื่อจะแยกสัญญาณที่ต้องการออกจากสัญญาณอื่น ๆ ที่มีความถี่ใกล้เคียง เราไม่สามารถที่จะใช้วงจรกรองความถี่แบบ L,C ธรรมดาได้ วงจรที่เราเลือกใช้คือวงจรกรองความถี่แบบ Crystal Filter ซึ่งจะมีค่า Q และ band ที่แคบกว่าวงจรแบบอื่น ๆ

ตัวอย่างวงจร Crystal Filter แบบ Half-lattice Crystal Filter นิยมใช้ในเครื่องรับ SSB โดยต่อหลังจากวงจร Balnced Modulator ทำหน้าที่กำจัดสัญญาณ Sideband ที่ไม่ต้องการออกไป

ตัวอย่างวงจร BAND PASS FILTER

BAND PASS FILTER

ความถี่ที่กำหนด ผ่านได้

ให้ความถี่ที่สูงกว่าและต่ำกว่าผ่านไม่ได้

ตัวอย่างวงจร BAND STOP FILTER

ข้อพิจารณา ณ ความถี่รีโซแนนซ์

1.วงจรอนุกรม C1 L1 ความต้านทานต่ำสุด (ความถี่ที่กำหนดจะมีแรงดัน ต่ำสุด)

2.วงจรขนาน C2 L2 ความต้านทานสูงสุด (ความถี่ที่กำหนดผ่านไปได้น้อยมาก)

3.วงจรอนุกรม C3 L3 ความต้านทานต่ำสุด (ความถี่ที่กำหนดจะมีแรงดัน ต่ำสุด)

4.วงจรขนาน Cn-1 Ln-11 ความต้านทานสูงสุด (ความถี่ที่กำหนดจะผ่านไปได้น้อยมาก)

2.วงจรขนาน Cn Ln ความต้านทานต่ำสุด (ความถี่ที่กำหนดผ่านไปได้มากสุด)

BAND STOP FILTER

ให้ความถี่ที่สูงกว่าและต่ำกว่าผ่านได้

ความถี่ที่กำหนด ผ่านไม่ได้

ขอขอบคุณ

แหล่งข้อมูล คลิกที่นี่

http://www.elec-za.com/

แหล่งข้อมูล คลิกที่นี่

http://www.hs8jyx.com/

Recent Posts
bottom of page