กระจายคลื่นแบบมีทิศทาง
Directional Antenna
เป็นสายอากาศที่กระจายออกไปแบบมีทิศทาง กำหนดทิศทางได้ กำหนดการกระจายได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ

สายอากาศชนิดนี้ส่วนมากเกือบทั้งหมดต้องอาศัยการแมชชิ่ง บริเวณจุดป้อนสัญญาณ Feeder เสมอเพาระอิมพีแดนซ์จะไม่เท่ากับสายที่มี
ตัวอย่างสายอากาศที่นิยมใช้กันมาก
สายอากาศแบบ ยากิ GAGI UDA Antenna

เป็นสายอากาศที่กำหนดทิสทางได้ดี นิยมใช้มากที่สุด มีองค์ประกอบไม่มาก
_gif.gif)
มีส่วนประกอบหลักคือ
1. ตัวขับ Driven ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณจากสายส่ง
2. รีเฟคเตอร์ Reflector เป็นตัวสะท้อนคลื่นกลับ
3.ตัวชี้นำสัญญาณ Director
4..บูม Boom เป็นตัวยึดอีลีเมน (ชิ้นส่วนทั้งหมด)


การจัดระยะห่งระหว่ง อีลิเมน Element อาจแตกต่างกันออกไป การแตกต่างอาจจะเกี่ยวกับการกระจายบ้างแต่ยังคงรูปแบบทิศทางอยู่เช่นเดิม


บทความ
สายอากาศยากิ-อูดะ
สายอากาศแบบหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี แต่ในชื่อเสียงว่ามีอัตราขยาย (gain) สูง ก็คือสายอากาศยากิ-อูดะ (เพราะคนออกแบบมีสองคนคือ ฮิเดซากุ ยากิ และ ชินทาโร อูดะ ดังนั้นเมื่อเราเรียกชื่อที่ถูกต้อง ก็ควรเป็น ยากิ-อูดะ เพื่อเป็นการให้เกียรติทั้งสองท่าน) โดยอัตราขยายนี้ก็คือความแรงของคลื่นในทิศที่แรงที่สุดเมื่อเทียบกับความแรงของคลื่นที่ออกมาจากสายอากาศสมมติไอโซทรอปิค (Isotropic) ซึ่งกระจายคลื่นออกรอบๆ ตัวเท่ากันทุกทิศทางในสามมิติ (เป็นทรงกลม) เมื่อป้อนกำลังไฟฟ้าเท่ากัน นั่นคืออัตราขยายที่ว่านี้ไม่ได้แปลว่าจะทำให้กำลังส่งจากเครื่องส่ง 10 วัตต์ไปออกอากาศรวมแล้วมากกว่า 10 วัตต์ไปได้ (เป็นไปไม่ได้ในทฤษฎีการสงวนพลังงาน - Conservation of Energy Theory) แด่หมายความว่ามันมีความแรงในการส่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากกว่าปกติ และมากกว่าของสายอากาศแบบ Isotropic เท่าไร (กี่เท่า) แค่นั้นเอง
ลักษณะของสายอากาศยากิ-อูดะจะเป็นเหมือนก้างปลาที่เราคุ้นเคยกัน และที่เราทราบกันคร่าวๆ ก็คือยิ่งมีก้างเยอะ (จำนวน element มาก) ก็จะมีอัตราขยายสูงขึ้น (ใกล้เคียง แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด เอ๊ะ ทำไมล่ะ อ่านต่อไปก่อนครับ) แต่ก่อนจะไปถึงรายละเอียด เรามาดูกันก่อนว่าสายอากาศ ยากิ-อูดะ ทำงานอย่างไรกันก่อนครับ
สายอากาศยากิ-อูดะทำงานอย่างไร
ทฤษฎีการทำงานของสายอากาศชนิดนี้ สามารถอธิบายได้หลายแนวทาง บางแนวทางนั้นเป็นแบบคณิตศาสตร์ซึ่งซับซ้อนและเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าเราอธิบายโดยใช้หลักการแบบพื้นฐานโดยมุ่งให้เห็นภาพการทำงาน จะเข้าใจได้ง่ายกว่าและไม่ได้ผิดหลักการทำงานที่เกิดขึ้นจริงด้วย
หลักการของสายอากาศ ยากิ-อูดะ คือเราสร้างตัวแพร่กระจายคลื่นหลักโดยสายนำสัญญาณให้กับตัวแพร่กระจายคลื่นนี้ เรียกว่า driven element (ตัวขับ) ซึ่งจะแพร่กระจายคลื่นออกไปรอบๆ ตัวมัน จากนั้นเราก็นำเอาตัวนำอื่น (เรียกว่า parasitic element) มาวางไว้ใกล้ๆ ตัวขับดังกล่าว ซึ่งจะวางไว้ใกล้ในอาณาบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่า near field ของตัวขับ (อ่านเรื่อง near field / induction field ด้านล่าง) เมื่อตัวนำอื่น ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากตัวขับ ก็จะเกิดกระแสไหลในตัวมัน และเมื่อมีกระแสไหลในตัวมัน ก็จะแพร่กระจายคลื่นออกมาอีกครั้งหนึ่ง (เรียกว่า re-radiate) แต่เนื่องจาก
-
มีระยะระหว่าง driven element กับ parasitic element
-
ความยาวของ parasitic element จะยาวหรือสั้นกว่าความยาวปกติ (ซึ่งคือความยาว resonance ทางไฟฟ้า) จึงทำให้เฟสของกระแสที่ไหลใน parasitic element ช้า หรือ เร็ว กว่าปกติ
-
ถ้า parasitic element ยาวกว่าปกติ เฟสจะช้าลงไป ในทางตรงกันข้ามถ้า parasitic element สั้นกว่าปกติ เฟสจะเร็วขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คลื่นจาก driven element กับคลื่นจาก parasitic element ต่างๆ จะเกิดการรวมกันทางขนาดและเฟส ทำให้เกิดการเสริมกันในบางทิศทางและหักล้างกันในบางทิศทาง แต่เนื่องจากบรรดา parasitic element ต่างๆ ไม่ได้ถูกขับหรือป้อนสัญญาณจากสายนำสัญญาณตรงๆ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถควบคุมขนาดและเฟสของกระแสในตัวมันได้อย่างสมบูรณ์ซึ่งจะขึ้นกับระยะทางระหว่าง driven element กับ parasitic element และความสั้นยาวกว่าปกติของ parasitic element นั่นเอง หรือพูดอีกทีก็คือเราคงไม่สามารถควบคุมให้เกิดการเสริมหรือหักล้างกันทางเฟสได้อย่างสมบูรณ์ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อย่างไรก็ตามผลที่เกิดขึ้นก็ใช้ได้ดีพอสมควร และทำให้เกิดอัตราขยายด้านหน้าสูงและด้านหลังต่ำ ทำให้ได้อัตราส่วนระหว่างอัตราขยายด้านหน้ากับด้านหลัง (front to back ratio) สูงและใช้งานได้ดี
ความยาวหรือสั้นของ parasitic element มีผลอย่างไร
ความยาวของตัวนำกาฝาก หรือ parasitic element มีผลต่อเฟสของกระแสที่ไหลในตัวมันคือ
-
ถ้า parasitic element สั้นกว่าปกติมันจะมีความเป็นตัวเก็บประจุ (capacitive) กระแสจะนำโวลเตจในตัวนำ parasitic นั้น และกระแสที่ถูกเหนี่ยวนำขึ้นนี้จะมีเฟสที่ทำให้สายอากาศรวมมีคลื่นจำนวนมากกว่าออกมาทางด้าน parasitic element จึงเรียกว่าตัวชี้ทิศหรือ director การทำให้เป็นความจุทางไฟฟ้าอาจจะทำโดยการจูนให้มีความถี่สูงกว่าความถี่เรโซแนนซ์ของ driven element อาจจะโดยเพิ่มตัวเก็บประจุก็ได้ แต่ปกติมักจะทำให้สั้นกว่า driven element ประมาณ 5%
-
ถ้า parasitic element ยาวกว่าปกติมันจะมีความเป็นความเหนี่ยวนำ (inductive) กระแสจะตามโวลเตจในตัวนำ parasitic นั้น และจะสะท้อนคลื่นออกไปจาก parasitic element ทำให้สายอากาศรวมมีคลื่นจำนวนมากกว่าออกไปด้านตรงกันข้ามกับ parasitic element จึงเรียกว่าตัวสะท้อนหรือ reflector การทำให้เป็นความเหนี่ยวนำอาจจะทำโดยการจูนให้มีความถี่ต่ำกว่าความถี่เรโซแนนซ์ของ driven element อาจจะโดยเพิ่มตัวเหนี่ยวนำก็ได้ แต่ปกติมักจะทำให้ยาวกว่า driven element ประมาณ 5%
ผลที่เกิดจาก director และ reflector
Director
ไดเร็คเตอร์ คือโลหะที่มีลักษณะสั้นกว่า driven element และวางไว้ "ด้านหน้า" ของ driven element และมีหน้าที่ทำให้ทิศทางคลื่นไปในทางของมัน จำนวนเกนที่สูงขึ้นขึ้นอยู่กับความยาวของสายอากาศ (ความยาวของบูม) ไม่ใช่จำนวนของ director ที่ใช้ ระยะห่างระหว่าง director มีได้ตั้งแต่ 0.1 ถึง 0.5 λ หรืออาจจะมากกว่าตามการออกแบบ
ถ้าออกแบบได้ดี
-
director ชิ้นแรกจะเพิ่มเกนประมาณ 3dB จากเกนรวม
-
director ชิ้นที่สองจะเพิ่มได้อีกราว 2dB
-
director ชิ้นที่สามจะเพิ่มได้อีกราว 1.5dB
ยิ่งชิ้นห่างๆ ไปยิ่งมีผลน้อยลง ถ้าพูดถึงการได้เกน (gain - อัตราขยาย) ที่ดี ก็จะวางระยะระหว่างไว้ราวๆ 0.15-0.3 λ ถ้าเกินกว่านั้นไม่ช่วยให้เกนดีขึ้น
Reflector
รีเฟล็คเตอร์ คือโลหะที่มีลักษณะยาวกว่า driven element และวางไว้ "ด้านหลัง" ของ driven element และมีหน้าที่ทำให้ทิศทางคลื่นไปในทางตรงกันข้ามกับมัน รีเฟล็คเตอร์ จะมีความถี่เรโซแนนซ์ต่ำกว่า และยาวกว่า driven element ประมาณ 5% ความยาวก็อาจจะเปลี่ยนไปได้ตามระยะทางและความอ้วน/ผอมของรีเฟล็คเตอร์เอง (ไดเร็คเตอร์ก็เหมือนกัน) ระยะห่างของรีเฟล็คเตอร์จะอยู่ประมาณ 0.1 ถึง 0.25 λ ทำให้เกนสูงขึ้นประมาณ 2.5dB ถ้าระยะเกินจาก 0.3 λ ไปก็ไม่ช่วยทำให้เกนสูงขึ้นอีก) รีเฟล็คเตอร์มีความสำคัญในการควบคุมอัตราส่วนระหว่างอัตราขยายด้านหน้ากับด้านหลัง (front to back ratio) ของสายอากาศ ระยะ/ตำแหน่งของมันจะมีผลต่ออัตราขยาย, front to back ratio, ลักษณะรูปร่างของ side lobe ปกติแล้วสายอากาศจะมี reflector เพียงอันเดียว เพราะการมีมากกว่านั้นจะมีผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
การประนีประนอมในการออกแบบ (Trade-offs)
จะเห็นว่าโดยหลักการแล้ว สายอากาศ ยากิ-อูดะ นั้น ประกอบไปด้วยตัวขับ (driven element) หนึ่งตัว กับ ไดเร็คเตอร์ และ/หรือ รีเฟล็คเตอร์ อีกอย่างน้อยหนึ่งตัว นั่นคือจะมี driven element + reflector เท่านั้น หรือจะเป็น driven element + director เท่านั้น ก็เป็นสายอากาศ ยากิ-อูดะ แล้ว จากนั้นก็มีการเพิ่มไดเร็คเตอร์ และ/หรือ รีเฟล็คเตอร์ต่อไปได้อีก (แต่อย่างที่กล่าวไว้ด้านบน เรามักจะไม่มีรีเฟล็คเตอร์เกินหนึ่งตัว เพราะไม่ช่วยเรื่องอัตราขยายนัก) ทีนี้ในการวางตำแหน่งของบรรดา ไดเร็คเตอร์ และ รีเฟล็คเตอร์ (ที่รวมเรียกว่าเป็น parasitic element) เหล่านี้ ก็มีผลต่อสิ่งต่างๆ และต้องเลือกเอา คือได้อย่างก็จะเสียอีกอย่าง คือ
-
ถ้าวางไดเร็คเตอร์ที่มีขนาดเท่ากัน ไว้ในตำแหน่งห่างเท่าๆ กัน จะทำให้ได้เกนที่สูงที่ความถี่หนึ่ง แต่แบนด์วิดธ์ก็จะแคบและมี side lobe ใหญ่
-
ตำแหน่งที่ห่างขึ้น จะทำให้แบนด์วิดธ์กว้างขึ้น แต่ side lobe ใหญ่
-
ดังนั้นการปรับความยาวและตำแหน่งของไดเร็คเตอร์ จะทำให้ควบคุมแพทเทิร์นและแบนด์วิดธ์ได้ดีขึ้น
-
จำนวนไดเร็คเตอร์ที่มากขึ้น แต่อยู่ในความยาวบูมเดิม จะไม่ทำให้อัตราขยาย (gain) สูงขึ้นสักเท่าไร แต่จะทำให้ควบคุมแพทเทิร์นได้ในช่วงความถี่ที่กว้างขึ้น
-
ถ้าเราลดความยาวของไดเร็คเตอร์ไปเรื่อยๆ (ไดเร็คเตอร์ตัวที่ไกลจาก driven element ออกไปๆ จะสั้นลงๆ) ด้วยสัดส่วนหนึ่ง และ เพิ่มระยะของตำแหน่งของไดเร็คเตอร์ไปด้วยอีกสัดส่วนหนึ่ง ก็จะได้แพทเทิร์นสวยงาม (side lobe น้อย) และมีแบนด์วิดธ์กว้าง แต่ เกนด้านหน้าจะต่ำลง (10-15%)
นั่นคือ เมื่อเราเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างของสายอากาศ ก็จะกระทบอย่างอื่นไปด้วยนั่นเอง
Near/Induction Field คืออะไร
คือบริเวณที่สนามแม่เหล็กไฟฟ้ามีลักษณะที่ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำได้ ลักษณะเช่น เราเอาหลอดฟลูออเรสเซนส์ไปไว้บริเวณใกล้ๆ สายส่งไฟฟ้าแรงสูง สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสายส่งไฟฟ้าจะเหนี่ยวนำให้ประจุในหลอดแตกตัวและทำให้หลอดไฟสว่างได้ (ลองเอาวิทยุมือถือ ใส่สายอากาศยาง แล้วกดใกล้ๆ หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนส์ก็ได้ ก็จะสว่างเหมือนกัน) แต่ ถ้าเราเอาหลอดไฟออกห่างจากสายส่งไฟฟ้าแรงสูงมาก หรือ ห่างจากวิทยุมือถือ-สายอากาศยางมาก จะไม่เกิดการสว่างนี้ ระยะที่เกิดการสว่างได้คือ Near Field หรือ Induction Field

-
Main Lobe เป็นลำคลื่นหลักของสายอากาศยากิ ส่วนนี้เป็นส่วนที่เราต้องการ มีความสำคัญที่สุด
-
Side Lobe ลำคลื่นจำนวนเล็กน้อยที่พุ่งออกไปทางด้านข้าง ส่วนนี้เราไม่อยากให้มี
-
Back Lobe ลำคลื่นจำนวนเล็กน้อยที่พุ่งไปด้านหลัง ส่วนนี้เราก็ไม่ต้องการเช่นกัน
-
จุด P คือตำเหน่งของสายอากาศยากิ (ที่ตั้ง)
-
มุม a คือ beamwidth ของสายอากาศยากิ สายอากาศที่ Gain สูง ๆ มุมนี้จะแคบ มุมนี้จะวัดที่ระดับสัญญาณตกลงไปจากจุด C -3 dB
-
จุด C หรือ center point เป็นจุดที่มีสัญญาณแรงที่สุด
