top of page

สายอากาศ Antenna

สายอากาศ

ทำหน้าที่เป็นโหลดของเครืองส่ง โดยรับกำลังงาน จากสายส่งมาเพื่อเปลียนเป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave)

310px-Dipole_xmting_antenna_animation_4_

เพื่อให้สายอากาศรับพลังงานจากสายส่งให้ได้มากที่สุด จะต้องทำการแมชชิ่ง Matching ระหว่าง สายส่ง กับสายอากาศให้พอดีกัน

coax.jpg

Zs เป็นอิมพีแดนซ์ต้นทาง (อิมพีแดนซ์ของเครื่องส่ง)

Zo เป็นอิมพีแดนซ์ของสายนำสัญญาณ

Zl  เป็นอิมพีแดนซ์ของสายอากาศ

เราจะต้องทำให้

Zs = Zo = Zl

เพื่อให้เกิดการโอนถ่ายกำลังงานสูงสุด Maximum Power Transfer

สายอากาศแบ่งตามชนิดการกระจายคลื่นเป็น 2 แบบ

1.แบบกระจายคลื่นรอบตัว

2.แบบกระจายคลื่นมีทิศทาง

โครงสร้างของสายอากาศ

สามารถทำได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะการใช้งาน โดยมีหลักสำคัญคือ ต้องมีความสำคัญกับ ความยาวคลื่น เพราะพบว่า ความยาวคลื่นและความยาวของสายอากาศมีความสัมพันธ์กันในเรื่อง การคกระจายคลื่น

onde-elettromagnetiche-gif-5.gif
Electromagnetic_waves.png

การกระจายคลื่น

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอนด้วย ส่วนประกอบสำคัญคือ

1.สนามฟฟ้า Electromagnetic Field

2.สนามแม่เหล็ก Magnetiv Field

3.ทิศทางการเคลื่อนที่ Propergation Direction

การจัดขั้วคลื่น

Poralization

เพื่อให้แนวการรับส่ง ระหว่าง เครื่องส่ง และ เครื่องรับ สัมพันธ์กัน  จะต้องจัดแนวของสนามไฟฟ้าให้ตรงกัน โดยใช้สนามไฟฟ้าเป็นหลัก

เราจะส่งคลื่นไปแนวใด

1.แนวตั้ง Vertical Poralization

2.แนวนอน Horizental Poralization

3.เคลื่อนไปทั้งแนวนอนและแนวตั้ง

การกำหนดนี้จะไปเกี่ยวข้องกับการออกแบบและวางตำแหน่งของสายอากาศ

ส่วนสำคัญของสายอากาศ

1.ส่วนกระจายคลื่น

2.ส่วนที่ทหน้าที่เป็นกราวด์

3.ส่วนที่ทำหน้าที่แมชชิ่ง (เพื่อรับพลังงานจากสายส่ง)

1-15-2021 9-58-46 AM.jpg

ความยาวของสายอากาศ

ความยาวที่ต่างกันจะทำให้รูปแบบการกระจาย Wave Propogation แตกต่างกันออกไป

Marconi_antennas.gif

ตามภาพ

สายอากาศที่ความยาว 1/4 จะพบว่าเป็นรูปวงกลม

สายอากาศที่ความยาว 1/2 จะพบว่ากระจายแนวราบได้ดี ระยะทางเพิ่มขึ้น

สายอากาศที่ความยาว 1     จะพบว่ากระจายออกเป็นมุมแคบและทิศทางเปลี่ยนไป

หน้าที่หลักของสายอากาศ

คือ การเปลี่ยนคลื่นวิทยุ RF Frequency เป็นสนามแม่เหล็ก Electromagnetic (เมืทำกาส่ง)

คือ การเปลี่ยนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสัญญาณไฟฟ้า ขณะทำการรับ

1-16-2021 1-15-29 PM.jpg

สายอากาศพื้นฐาน

1.แบบโมโนโพล Mono Pole เป็นสายอากาศแบบเส้นเดียว จดป้อนสัญญาณเส้นเดียว

2.แบบทิศทางขึ้นอยู่กับรูปแบบของการสร้าง จะเป็นกาบังคับให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในแนวหรือทิศทางที่ต้องการ

1-16-2021 1-24-19 PM.jpg

         สายอากาศแบบไดโพล Dipole (หากไม่มีตัวสะท้อน หรือ ไม่มีตัวชี้นำคลื่น จะกระจายคลื่นออกรอบตัว แต่จะมีอตราการขยายมากกว่า

         อัตราการขยายของสายอากาศเป็นการเพิ่มความเข็มเพียงเล็กน้อยแต่ตัวที่มากกว่าคือ รัศมี ืหรือ ระยะทางการส่ง ซึ่งเป็นการควบคุมสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

1-16-2021 1-34-15 PM.jpg

                    หากมีการเพิ่มตัวสะท้อน (จะยาวกว่า 1/2 ความยาวคลื่น) และห่างจากตัวสายอากาศประม่ณ .2 ความยาวคลื่น และเพิ่มตัวชี้นำใส่ด้านหน้า(มีความยาวสั้นกว่า และห่างจากตัวสายอากาศประมาณ .2 ความยาวคลื่น สายอากาศชุดนี้จะกลายเป็นสายอากาศแบบทิศทางทันที ตามหลักการของสายอากาศแบบ YAGI UDA

1_vbsNWCM3rD_vXgJz0hvn5w.png

การเพิ่มอัตราการขยาย หรือบังคับทิศทางของคลื่น ทำได้โดยเพิ่มตัวชี้นำด้านหน้าเข้าไป ตัวนี้จะสั้นไปเรื่อย และ เรียกว่า ไดเรคเตอร์ Director

unnamed.png

สมามแม่เหล็กไฟฟ้า จะถูกสะท้อนด้วยตัว Reflect ซึ่งยาวกว่า  และชี้นำด้วย ไดเรคเตอร์ Director ซึ่งสั้นกว่า นี่คือหลักการของยากิ อูดะ  ส่วนว่ใครจะพัฒนาไปแบบใดก็ยังคงใช้หลักการนี้

1-16-2021 2-01-49 PM.jpg
yagi-uda-antennas-500x500.jpg
UHF_TV_Antenna_DTM-44_b.png
6m-50MHz-Low-Noise-Super-Yagi-Antenna-BG

Front Loop  คือสนามที่พุ่งไปด้านหน้า ซึ่งเป็นสนามด้านมี่เราต้องการมากที่สุด

Side Loop   คือสนามที่ออกไปทางด้านข้าง ถ้าเพิ่ม Director มากขึ้นสนามนี้จะลดลงและไปเพิ่มให้ด้านหน้า

Back Loop  คือสนามที่หลุดลอดไปด้านหลัง เราต้องการส่วนนี้น้อยมาก ดังนั้น จึงมีการหาวิธีไม่ให้หลุดไปโดยอาจทำเป็นแผง

2-8-2021 10-45-51 AM.jpg
bottom of page