top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนaksboon

ข้าวหมาก เคล็ด(ไม่)ลับ ของคนโบราณ

อัปเดตเมื่อ 13 พ.ค. 2561

ข้าวหมาก สุดยอดโพรไบโอติกส์ไทย กินเท่าไรก็สวย หุ่นดี แถมยังแก่ช้าอีกด้วย เพราะข้าวหมากเป็นแหล่งของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotic) ที่ดีต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนการอย่างมหาศาล

โพรไบโอติก

เราเห็นคุณตา คุณยาย กินข้าวหมากกันมาตั้งแต่เด็ก แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครกินกันแล้ว ทั้งที่เป็นอาหารสะท้อนภูมิปัญญาไทย  ที่เราหลงลืมไป มันอาจจะดูเหมือนราวกับว่าเราโหยหากลับไปในอดีต แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว ข้าวหมากมีคุณค่ามากกว่าการเป็นอาหารโบราณที่ควรอนุรักษ์ หรือคงไว้เฉพาะคนที่สัมผัสแค่เปลือกนอกของความเป็นไทยเท่านั้น


คนสมัยก่อนกินอะไร

คนสมัยก่อนกินอะไร ทำไมถึงไม่อ้วน แข็งแรง  ไม่เจ็บป่วยง่าย” คำถามของ ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ย้อนมายังผู้เขียน

จากข้อสงสัยนี้เองอาจารย์ฉัตรภา จึงหันมาสนใจศึกษาภูมิปัญญาของไทยอย่าง “ข้าวหมาก” อย่างจริงจัง และพบว่าข้าวหมากของเรานั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญ ซึ่งเป็นแหล่งของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotic) ที่ดีต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนการอย่างมหาศาล


โพรไบโอติกส์ คืออะไร

มนุษย์มีการนำโบรไบโอติกส์มาใช้ในอาหารมาเป็นเวลานานมากกว่าหลายร้อยปีในหลายประเทศทั่วโลก  บางชนิดอาจะเป็นที่คุ้นชิน แต่เราไม่ทราบว่ามันคือโพรไบโอติกส์ อย่างเช่น

  • ในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ นัตโต (Natto) ถั่วเหลืองหมักด้วยเชื้อแบคทีเรีย และมิโซะ(Miso) ถั่วเหลืองหมักเกลือ

  • ประเทศเกาหลี ได้แก่ กิมจิ (Kimchi) ผักดองเค็มหมักด้วยพริกสีแดง

  • ประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ เทมเป้ (Tempe) ถั่วเหลืองหมักเป็นแท่งคล้ายเค้ก

  • ประเทศแถบยุโรป ได้แก่ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว คีเฟอร์ (Kefir) เชื้อแบคทีเรียและยีสต์ที่ยึดเกาะกันเป็นกลุ่มใช้หมักนม ซาวเคราท์ (Sauerkraut) กะหล่ำปลีหมักเกลือของประเทศเยอรมนี

  • ประเทศไทย ได้แก่ ปลาร้า ผักดอง และข้าวหมาก ที่เป็นไฮไลท์

อาจารย์ฉัตรภา ได้อธิบายความหมายของโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ว่าเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่  ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมแล้ว ให้มีแบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง (คือพวกที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย) ส่งผลทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น


แต่อย่างไรก็ตามเชื้อจุลินทรีย์จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีนั้นก็จำเป็นต้องมี โพรไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นอาหารสำหรับเชื้อจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ เช่น ธัชพืชต่างๆ ถัวเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย กระเทียม เป็นต้น




ยุคสมัยของข้าวหมาก

“ข้าวหมากเป็นอาหารไทยแต่โบราณ เป็นกรรมวิธีการถนอมอาหารเพื่อยึดอายุการเก็บข้าวให้ได้นานยิ่งขึ้น เนื่องจากในการหูงข้าวในแต่ละครั้งแล้วกินไม่หมด ”

ข้าวหมากจะมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เป็นผลผลิตจากกระบวนการหมักของจุลินทรีย์ หากพิจารณาถึงรสแล้วรสหวาน จะซึบซาบไปทั่วเนื้อของร่างกาย เป็นการบำรุงร่างกายในส่วนของธาตุดิน(มังสัง)ให้มีสุขภาพสมบูรณ์ และเพิ่มพลังงานขับเคลื่อนของร่างกาย และรสเปรี้ยว เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยระบบการย่อยอาหารไห้ดีขึ้น ขับเสมหะ บำรุงธาตุให้ความสมดุลของร่างกาย


“ข้าวหมากสามารถกินได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่” กล่าวคือ

  • ด็กที่มีร่างกายผอม กะร่องกะแร่ง เมื่อทานข้าวหมากจะทำให้เด็กแข็งแรงและเจริญเติบโตสมวัย

  • หญิงสาวที่ชอบกินข้าวหมาก จะทำให้หุ่นดี ผิวพรรรณสวยงาม มีน้ำมีนวล มีเลือดฝาด

  • หญิงมีครรภ์ จะทำให้กินอาหารได้รสชาติที่อร่อยมากขึ้น และลดอาการแพ้ท้องได้เนื่องจากความเปรี้ยวนิดๆของข้าวหมาก

  • ผู้สูงอายุ ที่กินข้าวหมากเป็นประจำจะทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บปวยได้ง่าย

  • คนที่มีปัญหาระบบขับถ่ายไม่ดี การกินข้าวหมากก็จะช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ปรับเข้าสู่สมดุลของระบบขับถ่ายได้

  • สุดท้ายการกินข้าวหมากหลังอาหารมื้อหลักช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น ลดอาการท้องอืด อึดอัดท้อง

----------









ดู 60 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page